แท็กซี่คันแรกของประเทศไทย

แท็กซี่คันแรกของประเทศไทย

กำเนิดแท็กซี่ครั้งแรกในประเทศไทย

แท็กซี่คันแรกของประเทศไทย

31 กรกฎาคม พ.ศ.2466

          ใน ประเทศไทย เริ่มมี แท็กซี่ ให้บริการ เป็น ครั้งแรก ใน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) โดย พระยาเทพหัสดิน ร่วมกับ พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ เป็นผู้ ก่อตั้ง บริษัท แท็กซี่ สยาม ขึ้นเป็น ครั้งแรก โดย มีรถ ให้บริการ 14 คัน คิดค่า บริการ ตามไมล์ ไมล์ละ 0.15 บาท (1 ไมล์ = 1.609344 กิโลเมตร) โดยใช้ รถยนต์ ยี่ห้อ ออสติน แต่ ประสบ ปัญหา ขาดทุน จึงต้อง ล้มเลิก กิจการ ไป จน กระทั่ง พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) เจ้าของ ธุรกิจ เอกชน บางราย ได้มี เริ่มการฟื้น ฟูกิจการ แท็กซี่ ใน ประเทศไทยขึ้น มาใหม่ โดยใน ช่วง แรกจะ นิยมใช้ รถยนต์ ยี่ห้อ เรโนลต์ ยุคต่อมาก็เปลี่ยน กลับมา นิยม ยี่ห้อ ออสติน ตาม ด้วยรถ ดัทสัน บลูเบิร์ด, และโตโยต้าในที่สุด

          อย่างไร ก็ตาม ในช่วง นั้น ป้าย ทะเบียน ของ รถประเภท แท็กซี่ จะมี ราคาแพง (หลักแสนบาท) จึงทำให้ผู้ให้ บริการ ใช้รถยนต์ แท็กซี่ นานหลาย สิบปี จนมี สภาพ ชำรุดทรุดโทรม เพื่อ ให้คุ้มทุน ค่าป้าย ทะเบียน อีกทั้ง กฎหมายมิ ได้ บังคับ ให้รถ แท็กซี่ มีการติด มิเตอร์ การจ่าย ค่าโดยสาร จึงเป็น ไปตาม การ ต่อรองระหว่าง ผู้โดยสาร และ ผู้ให้ บริการ  เมื่อ ยุคสมัย ผ่านไป ในช่วง เวลา หนึ่ง แท็กซี่ กลายเป็น สาเหตุ หนึ่งของปัญหา จราจร จากการ จอดต่อรองราคาดังกล่าว ดังนั้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) จึง เกิดการ เปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ โดยมี การ ออกกฎหมาย ให้รถแท็กซี่ ที่จด ทะเบียน ใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้น ไป ต้องติดมิเตอร์ อีกทั้ง กรมการ ขนส่ง ทางบกยังได้เปลี่ยน ระบบป้าย ทะเบียน แท็กซี่ ให้จดทะเบียน ได้ใน ราคา ถูกลงจากเดิม (หลักพันบาท) แต่จำกัด อายุ ของรถแท็กซี่ ไว้มิ ให้เกิน 12 ปี หากเกินจากนี้ จะต้อง ปลดประจำการ ไม่ สามารถเป็น รถแท็กซี่ ได้อีก และ ยังได้ สั่งให้เปลี่ยนสี รถแท็กซี่ บุคคล จากสี “ดำ-เหลือง” ใน ระบบป้าย แบบเก่า เป็นสี “เขียว-เหลือง” ในระบบ ป้ายแบบ จำกัดอายุ