5 โรคฮิตในวัยทำงาน

 เมื่อเข้าสู่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยเต็มไปด้วยความเครียด ทุ่มเทให้กับงานตลอดเวลา จนบางครั้งไม่มีเวลาให้ร่างกายของตัวเองได้พัก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลให้สุขภาพของคุณเสีย โรคฮิตในวัยทำงานมีอะไรบ้าง

1.โรคอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) โรคนี้มักเกิดจากภาวะเครียด ไม่ว่าจะด้านการงาน การเงิน หรือปัญหาครอบครัว เมื่อเราเกิดความเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจนเกิดการระคายเคือง ส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้

2.โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภัยเงียบอันดับต้นๆ ที่คอยคุกคามคนวัยทำงาน เพราะการที่ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก มีความเครียดสะสม และไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวาย อีกด้วย

3.โรคออฟฟิศซินโดรม (Myofascial Pain Syndrome) เป็นโรคที่ชาวออฟฟิศหลายคนรู้จักกันดี เพราะเกิดจากการนั่งทำงานตลอดวันแบบไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถมากนัก ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบจนมีอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ไหล่ คอ และบ่า รวมถึงปวดตา ปวดกระบอกตา  เนื่องจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ได้ด้วยเช่นกัน

4.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial Infarction) ไลฟ์สไตล์ของคนวัยทำงานที่ต้องเร่งรีบ เลือกรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ  รวมถึงทำงานอย่างหนักและไม่จัดสรรเวลาเพื่อออกกำลังกาย จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คนในวัยนี้เป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น

5.โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา อาจทำให้ไม่มีเวลาเลือกอาหารที่จะรับประทานในแต่ละวันมากนัก พวกของทอดของมันที่มีขายทั่วไปจึงเป็นตัวเลือกหลักของคนวัยทำงาน รวมทั้งการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือกินเสร็จก้เข้านอนทันที จึงมีโอกาสเป็นกรดไหลย้อน

6.โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในกลุ่มวัยทำงาน สาเหตุหลักๆ คือ การกลั้นปัสสาวะนานเกินไป เมื่อทำเป็นประจำจะส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

   ดังนั้นการทำงานคุณไม่ควรหักโหมจนลืมเรื่องสุขภาพของตัวเอง ตราบใดที่ร่างกายของคุณยังต้องทำมาหากิน ควรให้มีเวลาพักฟื้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น หากใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพ ผ่อนสบาย แถมยังได้ความคุ้มครองสุง สามารถทักมาหาเรามิตรสิบ โบรกเกอร์ประกันภัย

เนื้อหาจาก phyathai